วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558



            กิจกรรมวันนี้เป็นการสอบร้องเพลงและปิดคอสการเรียน วันนี้อาจารย์มีเพลงมาให้ 30 เพลงมีกล่องอยู่ 2 กล่อง กล่อง1ชื่อเพลง อีกกล่อง เลขที่ วันนี้ดิฉันได้เพลง ดวงอาทิตย์

เพลง ดวงอาทิตย์

ยามเช้าตู่อาทิตย์ทอแสงทอง
 เป็นประกายเรืองรองผ่องนภา
 ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า
 บอกเวลาว่ากลางวัน.... 





สิ่งที่อยากจะบอกกับคนคนนี้ 


ขอบคุณอาจารย์มากสำหรับความรู้ทุกอย่างที่มอบให้ ขอบคุณสำหรับคำชมเชยที่ทำให้หนูผลักดันตัวเองจากเทอมที่แล้วที่ไม่ค่อยตั้งใจเรียนไม่เอาใจใส่กับการทำบล็อก แต่เทอมนี้หนูตั้งใจเรียนและตั้งใจทำบล็อกมากค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่สอนแต่สิ่งดีๆ ให้ เรียนกับอาจารย์แล้วสนุก เข้าใจทุกครั้งมี่เรียน เป็นไปได้อยากเรียนกับอาจารย์ทุกเทอมเลยค่ะ รักอาจารย์มาก 








วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 14 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558


สิ่งที่ได้รับวัน

   อาจารย์เริ่มต้นด้วยการนำกิจกรรมมาให้เล่นผ่อนคลายสมอง จากนั้นอาจารย์เข้าสู่บทเรียน วันนี้เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

IEP ประกอบด้วย

    IEP ไม่ได้เขียนคนเดียวเป็นแผนท่จัดทำกันหลายคน ได้แก่ ครูประจำชั้น หมอ ผู้ปกครอง ผู้บริาร หรือครูสอนพิเศษ แผนจะอนุมัติได้ต้องผ่านบุคคลเหล่านี้อนุมัติก่อน
- ข้อมูส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยาวประจำปี / ระยะสั้น หน้าที่หลักที่ต้องเขียน
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
ประโยชน์

- ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
- ได้โอกาสพัฒนาตามศักยภาพ
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าเรียนเฉย ๆ

การเขียนแผน IEP

- คัดแยกเด็กพิเศษ ต้องรู้ว่าเด็กเป็นอะไร
- ครูต้องรู้ว่าเด็กีปัญหาอะไร ครูต้องรู้ละเอียดของเป็นอย่างถี่ถ้วน
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็ดไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเขียนแผน IEP

ประโยชน์ต่อครู

- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการเสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนการสอนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ผุู้ปกครอง

- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกอย่างไร
- เกิดความร่วมมือใรการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างกับโรงเรียน

การจัดทำแผน

- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่าที่เกี่ยวข้อง *แต่ถ้ามีเห็นต่างคน 1 จะใช้ไม่ได้ต้องได้รับลายเซ็นของทุกคน ผอ. ครูผู้สอนเสริม ผู้ปกครอง เห็นอนุมัติแล้ว*

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
การกำหนดจุดมุ่งหมาย

- ระยะยาว
- ระยะสั้น
การเก็บรวบรวมข้อมูล

- รายงานทางการแพทย์ เช่น เอกสารที่มาจากโรงพยายาบาล
- รายงานการประเมินต่าง ๆ 
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

จุดมุ่งหมายระยะยาว

- กำหนดให้ชัดเจน แม้แบบจะกว้าง ๆ ใช้จุดประสงค์แบบกว้าง ๆ
- น้องนุ่นช่วยตัวเองได้ ช่วยได้ในเรื่องอะไรบ้าง
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น ร่วมมือในทางใด
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่น ๆ ได้ เข้ากับเพื่อนแบบไหน

จุดมุ่งหมายระยะสั้น

- ตั้งอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ต้องเขียนเป็นเชิงพฤติกรรมของเด็ก เช่นน้องทำอะไรได้ภายใน 1 สัปดาห์ เป็นต้น
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไรที่จะสอน
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (พฤติกรรมนั้นจะเกิด) สอนใคร สอนเรื่องอะไร กิจกรรมอะไร
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน ต้องระบุให้ชัดเจน

ตัวอย่าง

- ใคร                                                 อรุณ
- อะไร                                               กระโดดขาเดียวได้
- เมื่อไหร่ / ที่ไหน                              กิจกรรมกลางแจ้ง
- ดีขนาดไหน                                     กระโดดได้ขาละ 
                                                         5 ครั้ง ในเวลา 30 นาที

ตัวอย่าง 

- ใคร                                    ธนภรณ์
- อะไร                                  นั่งเงียบ ๆ โดยไม่พูดคุย
- เมื่อไหร่  / ที่ไหน                ระหว่างครูเล่านิทาน
- ดีขนาดไหน                        ช่วงเวลาการเล่านิทาน 
                                            10 - 15 นาที เป็น                                                                    เวลา 5 วันติดต่อกัน

การใช้แผน

- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์พฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

การประเมินผล

- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควีมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์การวัดผล
**การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

การจัดทำแผน IEP



     จากนั้นอาจารย์ให้เขียนแผน IEP  1 แผน โดยทำเป็นกลุ่ม


ประเมินตนเอง

    วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา สนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นก่อนเข้าสู่บทเรียน ในขณะที่เรียนก็จดบนทึก วันนี้แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน

       วันนี้เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เพื่อน ๆต่างสนุกกับกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน และการเขียนแผนกลุ่มวันนี้ทุกคนในแต่ละกลุ่มให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

        วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย สอนรู้เรื่องมีกิจกรรมผ่อนคลายสมองก่อนเข้าสู่การเรียนการสอน 





วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 14 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558


*หมายเหตุ  สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นเทศกาลสงการณ์*






บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 7 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558


สิ่งที่ได้รับวันนี้

      วันนี้อาจารย์เริ่มต้นด้วยการร้องเพลง และหลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้าสู่บทเรียน วันนนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ 
                      ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
                    เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน


เพลงนกกระจิบ

นั่นนกกระจิบ บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

เพลงเที่ยวท้องนา

ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอ
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง

พลงลูกแมวสิบตัว


ลูกแมว 10 ตัวท่ฉันเลี้้ยงไว้ 
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลงลุงมาชาวนา


ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็หเ่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี่๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ*)

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ

- ต้อมมีก่อนเรียนรู้อื่น ๆ เด็กปกติ 10 - 15 นาที เด็กพิเศษ 5 นาที
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร สัปดาห์แรกไม้ต้องเยอะ

การเลียนแบบ

- เด็กพิเศษต้องเรียนแบบ เช่น ครู เพื่อน  หรือคนที่โตกว่า คนที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก 
- การกระตุ้นการเลียนแบบ คือ การทำตามคำสั่ง


การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ 
- เด็กพิเศษ ไม่ได้ยินสิ่งที่ครูสั่ง บางครั้งได้ยิน แต่ครูต้องสั่งซ้ำ
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว

-  ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ                                                     
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ เช่น ตัด ฉีก ปะ ปั้น ร้อย เป่า ประดิษฐ์
- มุมบ้าน เช่น เตารีด หั่นผัก
- ช่วยเหลือตัวเอง


กรรไกรแบบไหนที่เหมาะกับเด็ก
แบบที่ 1 เพราะอันเล็กจับสะดวกมือ ปลายกรรไกรโค้งมล

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ


- ลูกปัดขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก



ความจำ ต้้องฝึกเด็ก

- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน เช่น ชื่อจริงนามสกุลจริง
- เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 

จำเป็นที่จะส่งเสริมเด็กพิเศษ เช่น การนับ จำแนก จัดหมวดหมู่ 
ชั่งตรวง วัด คาดคะเน

มิติสัมพันธ์ 
ปีนเครื่องเล่นสนาม 
- ข้างบนข้างล่าง

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

- ให้งานเด็กอย่างชัดเจน ว่าเด็กแต่ละคนต้องทำตรงไหน
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นการเรียนรู้โดยช่วงเวลาสั้น ๆ 
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- ใช้อุปกรณืที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กแต่ละคนชอบอะไร
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว 
- ทำบทเรียนให้สนุก

ภาพบรรยากาศในชั้นเรียนวันนี้




ประเมินตนเอง

   วันนี้เข้าเรียนตรเวลา แต่งตวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนแต่ก็ไม่เต็มที่เพราะวันนี้รู้สึกไม่ค่อยพร้อมกับการเรียนแต่ก็จดเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้คามรู้

ประเมินเพื่อน

      วันนี้เพื่อนแต่งตัวเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกันบ้าง อาจจะสติหลุดกันบ้างแต่ทุกคนก็อตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์

      วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย วันนี้อาจารย์มีเพลงมาให้ร้องอีกแล้ว และก็มีวิดีโอมาให้ดูตอนท้าย 



วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558



                  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอยู่ในช่วงกีฬาสีคณะ อาจารย์เลยให้นักศึกษาไปทำงานช่วยเพื่อน ซึ่งกลุ่มของเรามีหน้าที่ทำพู่ 

ภาพบรรยากาศในการทำกิจกรรม








วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 24 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558




                วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่เป็นการสอบทดสอบความรู้ที่ได้เรียนมา ว่าที่เรียนมาเราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน วันนี้อาจารย์ไม่มาเลยให้อาจารย์บาสมาคุ้มสอบแทน 



วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558


สิ่งที่ได้รับวันนี้

           วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนด้วยการแจกชีทเพลง และแจกสี จากนั้นอาจารย์พาเล่นเกม เกมนี้มีชื่อว่า ไปไร่สตอบอรี่ 


    พอเสร็จกิจกรรอาจารย์เข้าสู่การเรียน วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ


การส่งเสริิมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือ

   มีอิสระในการดำรงชีวิต คือ ถ้าเด็กอยากไปเข้าห้องน้ำก็ควรให้เด็กไปเลย เมื่อเด็กทำได้เองโดยไม่มีครูมาพาไป เพื่อที่จะให้เด็กทำได้ด้วยตัวเอง

การสร้างความอิสระ

- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง ไม่ว่าจะเด็กปกติหรือเด็กพิเศษ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือเด็กที่โตกว่า



ความสำคัญเป็นสิ่งสำคัญ

- การได้ทำด้วยตนเอง
- เรียนรู็ความรู้สึกที่ดีและพร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่อ ๆ ไป

หัดให้เด็กทำเอง

- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
เช่น สภาวะ น้องดาน์วกำลังติดกระดุมเสื้อ ครูอยากช่วยอยากทำให้มือก็เล็ก เพื่อนก็ไม่ช่วย แต่ครูต้องใจแข็ง ดู ยืนมอง ถ้าเกิดครูเข้าไปช่วยเด็กจะไม่เรียนรู้ด้วยตัวเอง 
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กมากเกินไป
 เช่น ครู เวลาเด็กขอให้ทำอะไร ช่วยแค่เรื่องที่เด็กขอเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น กรณี
 เด็กขอให้ครูผูกเชือกรองเท้าให้ ครูก็ทำแค่อย่างเดียว
- "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"

กรณี

น้องดาน์ว ครูจะพาเด็ก ๆ ไปเล่นกลางแจ้ง ทุกคนใส่รองเท้าหมดแล้ว แล้วทุกคนวิ่งไปหมดแล้ว เหลือแต่น้องดาน์วที่ยังใส่ไม่ได้ ในกรณีนี้เด็กทุกคนจะไม่รอน้องดาน์ว  และเด็กปกติจะไม่รู้จักการรอคอย และน้องดาน์วจะคิดว่าเข้าถูกทิ้ง เขาจะเกิดอาการคิดมาก บางทีอาจเก็บไปคิดที่บ้าน 

หน้าที่ครู ครูควรบอกเด็ก ๆ ว่า 

- รอเพื่อนก่อนนะคะ ครูอาจจะให้เด็กเข้าแถวเกาะไหล่หรือเข้าแถวต่อเป็นรถไฟเพื่อเป็นการให้กำลังใจเด็กที่รอ
- มีใครจะช่วยเพื่อนไหม
- อีกแปปเดียวเพื่อนจะเสร็จแล้ว
- น้องดาน์วเขาจะรู้สึก ทุกคนรอเขาเขาเด็กจะรู้สึกดี






จะช่วยเมื่อไหร่

- เด็กก็มีบางวันไม่อยากทำอะไร เช่น ไม่อยากมาเรียน สังเกตุอาการเหล่านี้ เด็กพิเศษ อะไรที่เคยทำได้ก็จะเริ่มไม่ทำมีอารมง่องแง่ง เช่นเคยไปเข้าห้องน้ำเองได้ ก็จะไม่ไป 
 *ครูควรช่วยเหลือ คือ ต้องเอาใจใส่เขา*     

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

- ครูต้องย่อยงานให้เป็น
-การเข้าส้วม 
-เข้าไปในห้องน้ำ
-ดึงกางเกงลง
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม 
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในกระต้า
-กดชักโคกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกง
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผน

- แยกกิจกรรมเป็นชิ้นย่อย ๆ ให้มากที่สุด
- ครูวางแผนไว้เสมอ
- ตั้งสติเสมอ



สรุป

- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองให้มากที่สุด
- ย่อยงานแต่ละอย่างป็นชิ้น ๆ *ทักษะการย่อยงานของครู*
- ความสำเร็จชิ้นเล็ก ๆ นำไปสู่ความสำเร็จ ในกรณีเด็กพิเศษอย่าคาดหวัง เพราะผลที่ตอบกลับอาจจะเล็กน้อย

จากนั้นอาจารย์ให้ทำงานชิ้นสุดท้าย 

อาจารย์แจกกระดาษให้ และให้เลือสีที่ตัวเองชอบ จากนั้นให้มองหากึ่งกลางของกระดาษ แล้ว จุด จะทำแนตรงหรือแนวนอนก็ได้ แล้วลากวนจุดไปเรื่อย ๆ 

วงกลมของฉัน




- เฉลย กิจกรรมวงกลม คือควารู้สึกของใจคน
- กิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้กับเด็กและเด็กพิเศษได้เพราะช่วยในการฝึกสมาธิ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา จินตนาการ มิติ

ต้นไม้ของห้องเรา



ภาพบรรยากาศในห้องเรียนและการทำกิจกรรม








ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาแต่งตัวเรียบร้อย วันนนี้ทำกิจกรรมสนุกมากค่ะ ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึก ตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

วันนี้เพืาอนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรม มีคุยบ้าง

ประเมินอาจารย์

วันนนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย มีกิจกรรมสนุก ๆ ก่อนเข้าสู่บทเรียนตลอดชอบมากค่ะ อาจารย์สอนเข้าใจทุกครั้ง วันนนี้ทำกิจกรรมจุดวงกลมของอาจารย์สนุกมากค่ะ