วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558


สิ่งที่ได้รับวันนี้

           วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนด้วยการแจกชีทเพลง และแจกสี จากนั้นอาจารย์พาเล่นเกม เกมนี้มีชื่อว่า ไปไร่สตอบอรี่ 


    พอเสร็จกิจกรรอาจารย์เข้าสู่การเรียน วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ


การส่งเสริิมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือ

   มีอิสระในการดำรงชีวิต คือ ถ้าเด็กอยากไปเข้าห้องน้ำก็ควรให้เด็กไปเลย เมื่อเด็กทำได้เองโดยไม่มีครูมาพาไป เพื่อที่จะให้เด็กทำได้ด้วยตัวเอง

การสร้างความอิสระ

- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง ไม่ว่าจะเด็กปกติหรือเด็กพิเศษ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือเด็กที่โตกว่า



ความสำคัญเป็นสิ่งสำคัญ

- การได้ทำด้วยตนเอง
- เรียนรู็ความรู้สึกที่ดีและพร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่อ ๆ ไป

หัดให้เด็กทำเอง

- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
เช่น สภาวะ น้องดาน์วกำลังติดกระดุมเสื้อ ครูอยากช่วยอยากทำให้มือก็เล็ก เพื่อนก็ไม่ช่วย แต่ครูต้องใจแข็ง ดู ยืนมอง ถ้าเกิดครูเข้าไปช่วยเด็กจะไม่เรียนรู้ด้วยตัวเอง 
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กมากเกินไป
 เช่น ครู เวลาเด็กขอให้ทำอะไร ช่วยแค่เรื่องที่เด็กขอเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น กรณี
 เด็กขอให้ครูผูกเชือกรองเท้าให้ ครูก็ทำแค่อย่างเดียว
- "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"

กรณี

น้องดาน์ว ครูจะพาเด็ก ๆ ไปเล่นกลางแจ้ง ทุกคนใส่รองเท้าหมดแล้ว แล้วทุกคนวิ่งไปหมดแล้ว เหลือแต่น้องดาน์วที่ยังใส่ไม่ได้ ในกรณีนี้เด็กทุกคนจะไม่รอน้องดาน์ว  และเด็กปกติจะไม่รู้จักการรอคอย และน้องดาน์วจะคิดว่าเข้าถูกทิ้ง เขาจะเกิดอาการคิดมาก บางทีอาจเก็บไปคิดที่บ้าน 

หน้าที่ครู ครูควรบอกเด็ก ๆ ว่า 

- รอเพื่อนก่อนนะคะ ครูอาจจะให้เด็กเข้าแถวเกาะไหล่หรือเข้าแถวต่อเป็นรถไฟเพื่อเป็นการให้กำลังใจเด็กที่รอ
- มีใครจะช่วยเพื่อนไหม
- อีกแปปเดียวเพื่อนจะเสร็จแล้ว
- น้องดาน์วเขาจะรู้สึก ทุกคนรอเขาเขาเด็กจะรู้สึกดี






จะช่วยเมื่อไหร่

- เด็กก็มีบางวันไม่อยากทำอะไร เช่น ไม่อยากมาเรียน สังเกตุอาการเหล่านี้ เด็กพิเศษ อะไรที่เคยทำได้ก็จะเริ่มไม่ทำมีอารมง่องแง่ง เช่นเคยไปเข้าห้องน้ำเองได้ ก็จะไม่ไป 
 *ครูควรช่วยเหลือ คือ ต้องเอาใจใส่เขา*     

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

- ครูต้องย่อยงานให้เป็น
-การเข้าส้วม 
-เข้าไปในห้องน้ำ
-ดึงกางเกงลง
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม 
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในกระต้า
-กดชักโคกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกง
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผน

- แยกกิจกรรมเป็นชิ้นย่อย ๆ ให้มากที่สุด
- ครูวางแผนไว้เสมอ
- ตั้งสติเสมอ



สรุป

- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองให้มากที่สุด
- ย่อยงานแต่ละอย่างป็นชิ้น ๆ *ทักษะการย่อยงานของครู*
- ความสำเร็จชิ้นเล็ก ๆ นำไปสู่ความสำเร็จ ในกรณีเด็กพิเศษอย่าคาดหวัง เพราะผลที่ตอบกลับอาจจะเล็กน้อย

จากนั้นอาจารย์ให้ทำงานชิ้นสุดท้าย 

อาจารย์แจกกระดาษให้ และให้เลือสีที่ตัวเองชอบ จากนั้นให้มองหากึ่งกลางของกระดาษ แล้ว จุด จะทำแนตรงหรือแนวนอนก็ได้ แล้วลากวนจุดไปเรื่อย ๆ 

วงกลมของฉัน




- เฉลย กิจกรรมวงกลม คือควารู้สึกของใจคน
- กิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้กับเด็กและเด็กพิเศษได้เพราะช่วยในการฝึกสมาธิ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา จินตนาการ มิติ

ต้นไม้ของห้องเรา



ภาพบรรยากาศในห้องเรียนและการทำกิจกรรม








ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาแต่งตัวเรียบร้อย วันนนี้ทำกิจกรรมสนุกมากค่ะ ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึก ตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

วันนี้เพืาอนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรม มีคุยบ้าง

ประเมินอาจารย์

วันนนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย มีกิจกรรมสนุก ๆ ก่อนเข้าสู่บทเรียนตลอดชอบมากค่ะ อาจารย์สอนเข้าใจทุกครั้ง วันนนี้ทำกิจกรรมจุดวงกลมของอาจารย์สนุกมากค่ะ 







      

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น