บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558
สิ่งที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการเรียนด้วยการทำกิจกรรม กิจกรรมนี้มีชื่อว่า "รถไฟเหาะแห่งชีวิต" จากนั้นอาจารย์ได้เข้าสู่การเรียนการสอน
การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ
คือ จะเน้นทักษะทางสังคม ภาษา เพราะเด็กพิเศษจะเน้นทักษะเหล่านี้
1. ทักษะทางสังคม
สภาพแวดล้อมไม่ค่อยส่งผลแต่จะขึ้นอยู่ที่ตัวเด็ก อย่างในกรณีเด็กออทิส ต่อให้จัดห้องสวยแค่ไหน จัดมุมดีแค่ไหนถ้าเขาไม่เข้าก็คือไม่เข้า
2. กิจกรรมการเล่น
- เด็กออทิสติกในการเล่นของเล่นจุดเด่นคือเขาจะมองคนอื่น เลียนแบบเพื่อน
- ในช่วงแรก ๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ตัวอย่าง
กรณีที่ 1
น้องสมาธิสั้นกับน้องออทิสติก ถ้ามีเพื่อนนั่งขวางทางอยู่ตรงประตูเขาจะมองว่าเป็นสิ่งกีดขวางและนี่คือเส้นทางเดินปกติของเขา นี่ทางเดินปกติออกจากประตูถ้าเขาเห็นเพื่อนเขาเห็นเพื่อนนี่คือสิ่งที่กีดขวาง และเขาจะเดินชน เพราะเด็กไม่รู้และเขาจะมองว่าทุกอย่างคอสิ่งกีดขวางและจะเดินชน เพราะเด็กไม่รู้จัก เสียง ฉะนั้นครูจึงต้องค่อย ๆ สอน
กรณีที่ 2
สมมติมีกระเป๋าวางอยู่ เด็กปกติเห็นเขาจะเดินอ้อมหรือไม่ก็ยกออก หรือปัดไปให้พ้นทาง ถ้าในกรณีที่เด็กดื้อจริง ๆ อาจจะกระโดดข้าม แต่เด็กพิเศษ น้องออทิสติก หรือสามธิสั้น เขาจะคิดว่าขวางหรอ เขาจะเดินชนหรือไม่ก็เตะ เหยียบ ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน แต่เมื่อครูต้องเป็นคนสอนว่าต้องทำอย่างไร
3. ยุทธศาสตร์การสอน
- ครูต้องสังเกตเด็กและจดบันทึกเสมอ เพราะครูจะต้องรู้จริง รู้ลึก ว่าเด็กคนนี่เก่งด้านไหน ถนัดด้านไหน และครูควรสนับสนุนด้านที่เด็กถนัด *เพราะต้องเขียน IEP และต้องรู้ลึกตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน*
- เด็กทุกคนสามารถเขียนแผน IEP ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นเด็กพิเศษ
4. การกระตุ้นการเรียนแบบและการเอาอย่าง
- เรียนรู้จากการเรียนแบบเพื่อน
- เล่นเป็นกลุ่ม ๆ 2-4 อย่าเยอะกว่านี้ 5 คนยังพอไหว
แต่อย่าเกิน 5 คน
- ในกลุ่มหนึ่งควรมีเด็กปกติ 3 คนต่อเด็กพิเศษ 1 คน
- เด็กพิเศษเขาจะไม่จับกลุ่มกันเอง เช่น น้องดาน์วเขาจะไม่เล่นกับน้องดาน์วแต่เขาจะไปเล่นกับคนอื่น และเขาจะนั้งคนละฝั่ง
- เด็กปกติก็จะทำหน้าที่เหมือนครู เด็กพิเศษก็จะเลียนแบบครู ต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือกัน
5. ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ ๆ เฝ้ามอง อยู่ห่าง ๆ ไม่ต้องไปใกล้มากหนัก
- ยิ้มให้ ยิ้มหวาน สบตา
- ไม่ชมเชยมากเกินไป ถ้าเด็กเงยหน้าขึ้นมาครูก็แค่ยิ้ม แต่อย่าชมเกินเหต อย่าไปยุ่งกับเด็กมากนัก
- เอาวัสดุอุปกรณืมาเพิ่ม เพื่อยืดเวลา
สมมติกรณี
เล่นทราย เด็กเล่นกัน 4 กัน 1 ใน 4 คนมีเด็กออทิสติก 1 คน จังหวะแรก ครูให้เล่นทรายในกะบะ 4 คน ให้เล่นมือเปล่าขย่ำด้วยมือเปล่า และจังหวะ 1 เด็กเริ่มเบื่อ ให้ครูเอาพลาสติกใส่ เช่น พั่วพลาสติก ถัง ปราสาท ค่อย ๆ เสริมอุปกรณ์ไปเรื่อย ๆ ที่ทำแบบนี้เพราะจะช่วยยืดเวลาในการเล่นให้รู้สึกว่า่าสนใจ และต้องใส่ทีละชิ้น เพื่อให้เด็กตื่นเต้น ทำให้เด็กเล่นได้นานขึ้นอีกทั้งเด็กยังได้ทักษะทางสังคม และเป็นการฝึกสมาธิให้มีสามธิมากยิ่งขึ้น
กรณี เล่น 4 คน ครั้งแรกให้พัวพลาสติกเด็กทีละอัน แต่ถ้าครูให้ 2 อันเพื่อที่จะให้เขาแบ่งกันเล่น เช่นเล่น 4 คน ครูให้พั่วพลาสติก 2 อัน ครูอาจจะบอกเด็กว่า 2 คนเล่นก่อนและอีก 2 คนที่รอก็สลับกันเล่น ทำให้เด็กรู้จักการแบ่งปัน *ครูควรให้ครึ่งของจำนวนเด็ก เพราะเด็กจะได้สลับกันเล่น แต่ถ้าไม่มีอุปกรณ์จริง ๆ สามารถให้ต่ำกว่านิดหนึ่งได้*
6. การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูรู้จักชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน
- ให้เเรงเสริมกับบริบทการเล่นกับเพื่อน
เหตุการณ์ในห้องเรียนรวม น้องดาน์วกับน้องออทิสติก เขาจะไม่กล้าเล่นกับเพื่อน เขาจะมองคนอื่นเล่น
1. กลัวเล่นไม่เป็น
2. กลัวเพื่อนไม่เล่นด้วย
ตัวอย่าง
เด็กมี 2 ฝั่ง
เด็กฝั่งนี้เล่นกันอยู่ 3 คน อีกฝั่งนั่งมองเพื่อนตาปิบ ๆ
หน้าที่ครู
- ครูต้องบอกเด็กอีกฝั่งไปชวนเพื่อนอีกฝั่งเล่น
- หรือถ้าครูบอกเด็กอีกฝั่งเข้าไปเล่นกับเพื่อน เด็กจะไม่กล้าเข้าไปเล่น ครูต้องจับมือเด็กแล้วจับมือพาเดินเข้าปเล่น แล้วครูบอกเพื่อนอีกฝั่งว่าเล่นกกับเพื่อนหน่อยนะ แต่ในกรณีนี้เด็กอีกฝั่งเขาก็จะคิดว่าทำไมเขาต้องชวนในเมื่อเขาเล่นของเขาดี ๆ อยู่แล้ว
เช่น ในกรณีที่เด็กกำลังเล่นทรายอยู่ ครูควรให้น้องดาน์วถือถังใส่อุปกรณ์การเล่น แล้วครูจับมือพาเข้าไปเล่น
กรณีที่ 1
ครูอาจจะพาเด็กเข้าไปเล่นกับเพื่อน โดยครูพูดกับเด็ก ๆ ที่กำลังเล่นอยู่ว่า เด็ก ๆ ดูสิน้องกุ๊กกิ๊กมีของเล่นมาให้เล่น มี พั่ว เสียม เพราะจะทำให้เด็กปกติสนใจทันที แล้วเขาก็จะรับกุ๊กกิ๊กเข้าไปเล่นด้วย
กรณีที่ 2
เด็กฝั่งอีกฝั่งกำลังเล่นดนตรี มีมือกีต้า มีนักเป่าครุ่ย มีนักร้องนำ
แต่น้องกุ๊กกิ๊กนั่งมองเพื่อนเล่นตาปิบ ๆ ครูควรจับมือน้องกุ๊กกิ๊กถือกลองและจับมือพาไปเล่นกับเพื่อน ๆ ครูอาจจะพูดว่า ดูสิเด็ก ๆครูพามือกลองขั้นเทพมาเลย ตีกลองโครตเจ๋งเลย ครูต้องทำให้เด็กปกติสนใจที่จะเล่นกับน้องกุ๊กกิ๊ก ในขณะนั้นครูต้องคอยนั่งอยู่ใกล้ ๆ
กรณี น้องเป็นดาน์วน้องอาจจะตีกลองไม่ค่อยเป็น ครูช่วยได้ดีที่สูดคือการประคองมือเด็กแล้วจับมือเด็กตีกลอง สักพักเด็กจะตีได้เอง *การสัมผัสเด็ก การประคองตัว สำคัญ*
7. ช่วยเด็กทุกคนให้รู้จักกฎเกณฑ์
- เด็กพิเศษจะต้องทำเหมือนเด็กปกติทุกอย่างไม่มีข้อยกเว้นทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเหนือใคร
- ห้ามเอาจุดบกพร่องของเด็กพิเศษมาเป็นข้อต่อรองกับเด็กปกติ เพราะไม่มีใครมีอภิสิทธิเหนือใคร
*เสริม*
การเล่นทราย เด็กทุกคนต้องรู้จักกฎเกณฑ์
- เล่นทราย 4 คน เล่นด้วยมือเปล่า เวลาครูเอาพัวมาให้เด็กควรให้แบบเอาไปวางไว้ตรงกลาง แล้วครูอาจจะบอกกติกาการเล่นให้กับเด็ก
สมมติ
น้องชมพูกับน้องเชอรี่เล่นเสร็จแล้วครูก็ออาจจะบอกว่าหนูต้องแบ่งให้เพื่อนเล่นด้วยนะคะ
- ใช่ว่าเด็กเวลาครูพูดไปแล้วจะเข้าใจ
ถ้าเหตุการณ์
- น้องชมพู่เป็นดาน์วแล้วน้องเชอรี่เป็นเด็กปกติ
- น้องชมพูเป็นดาน์วเล่นของเล่นคนเดียวไม่แบ่งเพื่อน ยึดของเล่น
- น้องเชอรี่เป็นเด็กปกติยึดของเล่น (แล้วแต่คน)
*แต่ส่วนใหญ่น้องดาน์วจะให้ แต่เด็กปกติจะไม่ให้ แต่น้องดาน์วบางคนก็พูดไม่รู้เรื่อง*
ตัวอย่าง
- น้องชมพูเป็นดาน์วยึดของเล่น
- น้องเชอรี่เป็นเด็กปกติ ได้แต่ทำตาปิบๆ
- ครู ต้องเข้าไปพูดว่าน้องชมพูค่ะถึงตาเพื่อนเล่นแล้วนะหนูเล่นเสร็จยัง *ครูควรทำให้มันเป็นกิจกรรมการเล่นการแบ่งพั่ว*
เช่น น้องชมพูเล่น 10 ครั้งนะ พอครบ 10 ครั้งแล้วแบ่งให้เพื่อนเล่น น้องเชอรี่เล่นครบ 10 ครั้งแล้ว ก็สลับกัน วิธีนี้ทำให้อีกเด็กเขาจะคิดว่าเขาทำบรรลุเป้าหมายแร้ว อีกทั้งจะทำให้เด้กรู้จักการรอคอย
8. Post Test ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไร
กิจกรรมต่อมาอาจารย์แจกชีคเพลงให้คนละแผ่น มี 6 เพลงด้วยกัน
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน
1.เพลงดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วหล้า บ่งเวลา
2. เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร่์แสงยวลใย
สุกใสในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน
3. เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ
4. เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกกัน
5.เพลง นกเขานัน
ฟังสิฟังนกเขามันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขามันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู
6.เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย
และกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ คือ ให้จับคู่กับเพื่อน 1 คน
อุปกรณ์
1. กระดาษ
2. สีสองสี
กิจกรรมนี้ชื่อว่า "กิจกรรมเส้นและจุด"
คำสั่ง ให้คน 1 กำหนดว่าจะเป็นอะไรใครเป็นเส้นใครเป็นจุดแล้วให้คนเป็นเส้นลากไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ลากเส้นตรงมีวงกลมด้วย จนกว่าจะจบเพลงแล้วคนที่เป็นจุดให้จุดในวงกลมของเพื่อนที่ลากเส้นจนกว่าจะจบเพลง ให้ทำไปพร้อมกัน พอเสร็จอาจารย์ให้ไปหยิบสีมาเพิ่มแล้วให้ดูว่าจะวาดเป็นรูปอะไรได้บ้าง
ผลงานของเพื่อน
ผลงานของฉันคือ วาดเป็นรูปปลามี หอย สาหร่าย
และนี่คือผลงานของเพื่อนที่ใกล้เคียง
กับผลงานของเด็กมากที่สุด
เพราะเด็กจะยังลากเส้นไม่เยอะ
ประโยชน์
- เด็กได้สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- กิจกรรมนี้เด็กพิเศษกับเด็กปกติสามารถทำร่วมกันได้
บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้
การบ้าน
- ฝึกร้องเพลง 6 เพลง
- เคลียร์บล็อก
ประเมินตนเอง
วันนี้แต่งตัวเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรม มีจดบันทึก กิจกรรมวันนี้สนุกมากคะ ซึ่งกิจกรรมแรกมันตรงมาก :)
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนทุกคนแต่งตัวเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา สนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้มา ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจมาก มีกิจกรรมมาให้ผ่อนคลายก่อนเรียน อีทั้งยังมีกิจกรรมในห้งเยอะแยะ ซึ่งหนูชอบมากค่ะ :)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น