วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558


สิ่งที่ได้รับวันนี้

      วันนี้อาจารย์ได้เรียนรวบของสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์แจกชีคเพลงและบอกว่าวันนี้อาจารย์บอกว่ามีงานให้ทำในห้องด้วย 1.รูปแบบการจัดการศึกษา 2. บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน

1.รูปแบบการจัดการศึกษา

- รูปแบบนี้นี้เป็นแบบใหม่ที่ใช้ในปัจจุบัน  รัฐบาลให้ความสำคัญ แบ่งแยกชัดเจน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) แบบเก่า คือคนทั่วไปเรียนคนปกติ เดกปกติเรียนเท่านั้น ใช้เมื่อ30ปีที่แล้ว ในสมัยนี้ยังไม่ให้เด็กพิเศษมาเรียนรวมด้วย และเด็กพิเศษเหล่านี้จะไม่เป็นที่ยอมรับของสังที่บ้านก็จะซุกซ้อนเด็กให้อยู่บ้านไม่ให้ออกมาให้ใครเห็นเลย

การศึกษาพิเศษ ให้เด็กพิเศษเรียน

ข้อดี   เด็กจะไม่มีข้อเปรียบเทียบ เขาจะไม่รู้สึกแตกต่าง ไม่มีปมด่อย ไม่มีข้อคบคล่อง

ข้อเสีย  เด็กจะคุยไม่รู้เรื่อง ไม่ค่อยพัฒนา เพราะเขาเจอแต่เด็กประเภทเดียวกัน การอยู่ในสังคมเขาจะปรับตัวยาก ไม่มั่นใจในการอยู่ร่วมกับสังคม

ความหมายของการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วม (Interated Education หรือ Mainstreamiing)

- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปอยู่ในระบบการศึกษาทั่วไปไม่เปลี่ยน แต่เอาไปเรียนร่วม ยึดทุกคนเท่าทเียมกันกันกับเด็กปกติ และเด็กปกติเรียนแบบไหนเด็กพิเศษก็เรียนแบบนั้น ครูจะร่วมมือกับครูพิเศษ เช่น เด็กตาบอด ก็จะมีครูพิเศษมาสอน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)

- บางเวลา เช่น ช่วงกิจกรรม ช่วงศิลปะ 6 กิจกรรมที่ใช้มากที่สุดคือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นการเอาดนตรีมาบำบัด ลองลงมาคือศิปละ เป็นกิจกรรมที่เด็กพิเศษเรียนร่วม เสร็จแล้วเขาก็จะกลับไปศูนย์การศึกษาพิเศษ เด็กจะมาเรียนเป็นช่วงเวลา
-เป็นเด็กพิเศิษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากที่สุด จึงไม่อาจมาเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 

การเรียนเต็มเวลา (Mainstreaming)

- เด็กจะมาอยู่ตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น ครูจะพามาและตอนเย็นมารับ ระดับอาการคือน้อย ๆ ยังปกติในระดับหนึ่ง

ความหมายการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

เด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้รับการศึกษา อยู่ตั่งแต่เทอม 1 มีสถานะเหมือนเด็กปกติ มีพ่อแม่มารับมาส่งเหมือนเด็กทั่วไป

ข้อแตกต่าง  เรียนร่วม ครูจะมาส่ง ศูนย์การศึกษาพิเศษ เรียนเสร็จก็   มารับ
                 เรียนรวม  มีสถานะเหมือนเด็กทั่วไป จะเรียนรวมกับเด็กปกติ พ่อแม่มารับมาส่ง โรงเรียนเป็นคนดูแล มีหมอดูแลต่างหา จะไม่มีศูนย์การศูนย์การศึกษาพิเศษมารับ

Wilson , 2007



 - การจัดการเรียนการสอนที่ยึดหลักปรัชญาการอยู่ร่วมกัน
- การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน เริ่มจากชุมชนเด็กพิเศษกับเด็กปกติมีความช่วยเหลือกันและต่างฝ่ายก็จะปรับตัวเข้าหากัน

มีคำกล่าวไว้ว่า

"Inclusive Education is Education for all , 
Il involves receiving peple
at the beginning of their education
with prvision of additional seevices
need by each individual"

          การศึกษาแบบเรียนรวมสามารถเรียนได้ทุกคน ได้รับการศึกษาขั้นต้น คือต้องได้รับการเรียนตั้งแต่อนุบาล แต่ละคนมีความแตกต่างกันเฉพาะบุคคล ครูควรคำนึงว่าเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ที่เราต้องจัดให้เมาะสมกับเด็กแต่ละคน

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม 
  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ 
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรูและพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการการพิเศษของเขา
  • ครูต้องเปิดใจ อย่าปิดกั้นเด็ก
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for all)
  • เด็เลือกโรงเรียนไม่ใช่โรเรียนเลือกเด็ก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • "สอนได้" เด็กอนุบลาสอนได้ยิ่งเป็นเด็กพิเศษเหมือนกัน
  • ทำไมเด็กพิเศษต้องเรียนร่วมช่วงปฐมวัย เพราะสมองของเด็กกำลังพัฒนา เซลล์สมองกำลังพัฒนาเพราะช่วงแรกเกิด ถึง 6 ขวบ กำลังสร้าง ถ้าเรย 7 ขวบขึ้นไปจะหยุดสร้าง และจะเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ 
2.  เรื่องบทบาครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

สิ่งที่คนเป็นครูไม่ควรวินิจฉัย คือ สิ่งที่ห้ามทำห้ามวินิจฉัย หน้าที่นี้คือแพทย์ สิ่งที่ทำได้คือสันนิฐาน
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อ ฉายาให้เด็กเด็ดขาด ไม่ว่าฉายานั้นจะดูน่ารักก็ตาม โดยเฉพาะเด็กพิเศษ และน้องดาว 
  • อย่าดูถูกเด็ก ว่าเด็กไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะน้องดาว
  • ครูไม่ควรบอกพ่อแม่่ว่าน้องเป็นอะไร เช่น น้องเป็นสามธิสั้น น้องเป็นออสทิสติก 
  • ครูควรเล่าเรื่องดี เน้นเรื่องดี เช่น
            - น้องเป็นสมาธิสั้น  ให้บอกว่าวันนี้น้องทำกิจกรรมศิลปะจนเสร็จเลย เสร็จแล้วน้องค่อยไปวิ่งเล่น
            -  น้องเป็นออทิสติก ให้บอกว่าวันนี้เล่นบล็อกต่อบล็อกเป็นแถวเก่งมากเรย

*การเล่าคือเล่าเรื่องจริง

ครูทำอะไรบ้าง
  • สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วง ๆ ทำอย่างเป็นระบบ
  • การจดบันทึก คือ บันทึกตามความเป็นจริง 
สังเกตอย่างเป็นระบบ
  • จดบันทึก
  • ทำเป็นประจำ
  • ทำเป็นระบบ


 



การตรวจสอบ
  • จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ได้  เช่น 
  • กรณีที่ 1 - เด็กออทิสติก เขาจะเล่นของเล่นก็ต่อเมื่อไม่มีคนก่อนที่จะเล่นเขาจะไปยืนหน้าเครื่องเล่น แล้วจะพูดคำว่า "เฮ้" ก่อนเล่น สิ่งแรกที่ควรแก้คือ การเล่นคนเดียวควรให้เล่นกับผู้อื่น อย่างที่สอง คือคำ "เฮ้" ถ้าเห็นว่าพฤติกรรมไม่ได้ขัดขวางการเล่นของเด็กก็ปล่อยไป
  • กรณีที่ 2 -น้องดาว์น ชอบระบาย ชอบวาดรูป ปัญหาที่ครูมักพบคือน้องดาว์นเวลาระบายเขาจะร้องเพลงซึ่งเพลงของน้องดาว์นก็จะเป็นภาษาที่ฟังไม่รู้เรื่องและน้องดาว์นชอบกำดินสอแน่น  สิ่งแรกที่ควรแก้คือกล้ามเนื้อมือ
การบันทึกการสังเกต
  • สังเกตอย่าเป็นระบบ
  • การนับง่าย ๆ นับการทำซ้ำของเด็ก เช่น การกระทืบเท้า เด็กบกพร่องทาอารมณ์ จะนับเป็นนาที
  • การบนทึกต่อเนื่อง นับเป็นช่วงหรือช่วงกิจกรรม เพราะเห็นกระบวนการของเด็ก เช่น ศิลปะ กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เด็ก 3 ขวบบันทึกเป็นคำ ๆ กินขนม โน่น เด็ก 5 ขวบ กิจกรรมศิลปะ ขอสีน้ำเงิน ไม่ทำแล้ว
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง เป็นพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง บันทึกเป็นบัตรหรือกระดษเป็นคำ ๆ เพื่อความสะดวกและพกงาย 

ตัวอย่างแบบบันทึกเป็นคำ ๆ


ตัวอย่างแบบบันทึกไม่ต่อเนื่องแบบบัตรคำ 
เป็นการบันทึกสั้นๆ ของพฤติกรรมเด็ก


การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป

- บางครั้งทำจริง แต่ไม่ทำบ่อย ทำเป็นสัปดาห์ละครั้ง 

การตัดสินใจ

- ครูต้องตัดสินใจ ลำดับความสำคัญ ก่อนและหลัง


เสร็จแล้วอาจารย์แจกกระดาษกับสีให้ โดยมีโจทย์ว่าให้วาดรูปดอกชะบาให้เก็บรายละเอียดให้มากที่สุด พอวาดเสร็จอาจารย์ให้เขียนวาดเห็นอะไรในภาพนี้บาง ?
   
ดอกชะบา







บรรยากาศในชั้นเรียน :)








ประเมินตนเอง 


วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย มีการจดบันทึกรายละเอียดที่อาจารย์พูด แล้วตั้งใจวาดรูประบาย
สีดอกชบาด้วย



ประเมินเพื่อน 

วันนนี้เพื่อนแต่งตัวเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา วันนี้บรรยากาศในห้องเงียบทุกคนต่างตั้งใจเรียน ไม่ค่อยคุย และตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย





               
                  วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบาเนื้อหาได้ชัดเจนและเข้าใจอีกทั้งยังสอนแน่นและละอียดมากอีกทั้งมีกิจกรรมวาดรูปมาให้ทำอีกด้วย  






         

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น